กิจกรรมเแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวหัวข้อ “การทำปุ๋ยน้ำและปุ๋ยจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในพื้นที่ 10 ไร่ จังหวัดปราจีนบุรี” จัดขึ้นในวันอังคารที่ 19 ตุลาคม 2564 เวลา 13.30 – 16.30 น. ซึ่งเป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยสวนดุสิตประกอบไปด้วย
1. โรงสีข้าวสวนดุสิต มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
2. สำนักกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
3. ศูนย์การศึกษานครนายก มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
4. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิ
ได้รับความอนุเคราะห์ควบคุมดุแลโดย ผศ.ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำหรับโครงการบริหารพื้นที่ 10 ไร่ นี้เป็นโครงการสำหรับการบริหารจัดการพื้นที่ว่าง เพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งได้มีการเพราะปลูกพืชจำนวนหลายพันธ์ หนึ่งในนั้น คือ กล้วยพันธ์เล็บมือนาง ซึ่งเป็นการบูรณาการทำงานกันทั้งด้านองค์ความรู้จากคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อนำลงไปสู่การปฏิบัติ จากการปลูกกล้วยมาเป็นระยะเป็นหนึ่งพบว่าผลกล้วยไม่สมบูรณ์ ลำต้นเล็ก จากการศึกษาคณะทำงานพบว่ามีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของผลผลิต ไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่แตกต่างจากชุมพร จึงได้มีแนวคิดในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “การทำปุ๋ยน้ำ และปุ๋ยจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในพื้นที่ 10 ไร่ จังหวัดปราจีนบุรี”
โดยได้รับความอนุเคราะห์จากวิทยาการ จำนวน 2 ท่าน คือ
1. คุณปราณี ภุมรินทร์ นักปราชญ์ชุมชน ประธานวิสาหกิจชุมชน กลุ่มสตรีเพื่อการแปรรู ตำบลวังไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร (กล้วยตราภุมรินทร์ ชุมพร) ผู้มีประสบการณ์ตรง
2. ผศ.ดร.ณัฐกฤตา ฟลอเรนไทน์ อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาชีววิทยา หัวหน้าฝ่ายร่วมมือภายนอกคณะวิทย์ ผู้เชียวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
ผู้ดำเนินรายการโดย
1. ผศ.วัชรากรณ์ เนตรหาญ อาจารย์หลักสูตรวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
2. ผศ.ดุสิต อังธารารักษ์ อาจารย์หลักสูตรเทคโนโลยีเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวหัวข้อ “การทำปุ๋ยน้ำและปุ๋ยจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในพื้นที่ 10 ไร่ จังหวัดปราจีนบุรี” (19 ต.ค. 64)
Comments Off on ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวหัวข้อ “การทำปุ๋ยน้ำและปุ๋ยจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในพื้นที่ 10 ไร่ จังหวัดปราจีนบุรี” (19 ต.ค. 64)