“SDU One World Library กับการเปลี่ยนแปลงตนเอง” (load file)
ผศ.ดร.สุระสิทธิ์ ทรงม้า รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
การเปลี่ยนแปลงทั้งด้านสภาพแวดล้อม อาคาร สถานที่ พื้นที่ใช้สอย เทคโนโลยีสารสนเทศ และ
สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สะท้อนให้เห็นวิสัยทัศน์ของผู้บริหารในการปรับเปลี่ยนให้ทุกพื้นที่ในมหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ “Suan Dusit One World Library” ให้กับนักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอก อนึ่งจากประสบการณ์ที่ข้าพเจ้าทำงานที่มหาวิทยาลัยมากกว่า 25 ปี เห็นได้ชัดเจนพัฒนาการความเปลี่ยนแปลง สะท้อนถึง “The Big IDEA Turn ideas into reality” โดยสรุปได้ดังนี้
- พ.ศ. 2477-2539 : เป็นลักษณะห้องสมุดแบบดังเดิมให้บริการหนังสือ สิ่งพิมพ์ ห้ามส่งเสียงดัง และไม่สามารถรับประทานอาหารภายในห้องสมุดได้
- พ.ศ. 2540-2557 : หรือ Virtual Library เป็นห้องสมุดที่แรกในประเทศไทยที่มีความทันสมัย และใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูล มีระบบฐานข้อมูลกลาง ครอบคลุมทุกพื้นที่ศูนย์การศึกษา
- พ.ศ. 2558-2564 : ขยายพื้นที่การเรียนรู้ ไม่จำกัดอยู่ในห้องสมุดเพียงอย่างเดียว เพิ่มพื้นที่การเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยลักษณะ Café Library, Co-Working Space, Activities Space, Environment Design for Learning and Services ทำให้นักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอกที่มาใช้บริการมีพื้นที่การเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น
- พ.ศ.2565-ปัจจุบัน : ปรับเปลี่ยนเพื่อเป็น Suan Dusit One World Library โดยต่อยอดให้ทุกพื้นที่การเรียนรู้ภายในมหาวิทยาลัยสวนดุสิตเป็นแหล่งเรียนรู้ทั้งหมดให้ทั้งนักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอก โดยเพิ่มพื้นที่ Café Library, Co-Working Space, Activities Space, Environment Design for Learning and Services และพัฒนาต่อยอดด้วยเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำงาน และการเรียนการสอนในส่วน On-line Learning Room, Hybrid Learning เป็นต้น
ทั้งนี้ พัฒนาการดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการไม่ยึดติดกับสิ่งเดิมที่มีในอดีต มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
จึงเป็นองค์กรที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ฉะนั้นบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยสวนดุสิตต้องพัฒนา ปรับเปลี่ยนแนวความคิดเป็นแบบ Growth Mindset เปิดรับ และเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา เพื่อทำให้มหาวิทยาลัยสวนดุสิตเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning organization : LO) ต่อยอดเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม (Organizational Innovation) และเป็นองค์การที่อยู่รอดได้อย่างยั่งยืน(Sustainable Survivability) ซึ่งถือเป็นเป้าหมายสูงสุดขององค์กร
“จากแนวความคิดสู่การปฏิบัติจริง (ทำให้เห็น)”